ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ร.7 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะมอบระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนชาวสยามอยู่แล้ว จริงหรือ ?



รัฐพงศ์   หมะอุ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



            จากคำกล่าวที่นักวิชาการหลายท่านชี้ว่า “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะมอบระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนชาวสยามอยู่แล้ว” ข้อความนี้ควรพิเคราะห์ถึงคุณค่าความหมายตามบริบททางการเมือง กล่าวคือ

แนวพระราชดำริและพระราชประสงค์ต่างๆ ก่อนการปฏิวัติในปี พ.ศ.2475 นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่จะเรียกว่าเป็นพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยหรือไม่นั้น เป็นการพิเคราะห์ ซึ่งต้องแยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ดังเช่นว่า มีการศึกษาวิเคราะห์ว่าพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปรับเปลี่ยนการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้มีความทันสมัยขึ้นมากกว่าการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอย่างเช่นที่กล่าวข้างต้น


เหตุและปัจจัยหลายประการที่คิดเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงมอบระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนชาวสยามตั้งแต่ก่อนคณะราษฎรจะทำการปฏิวัตินั้น เหตุผลหลักที่สำคัญคือ ร่างเค้าโครงการเปลี่ยนรูปการปกครอง (An Outline of Change in the Form of the Government) ที่นักวิชาการหลายท่านชี้ว่าเป็น “รัฐธรรมนูญ” ซึ่งพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระดำริจะให้ “ประชาธิปไตย” ก่อนที่คณะราษฎรจะทำการปฏิวัติ 

โดยตามเค้าโครงนี้ระบุว่าอำนาจสูงสุดยังคงอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ทั้งทางการบริหาร การตรากฎหมายและการศาลอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าร่างเค้าโครงการเปลี่ยนรูปการปกครองนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้สยามมีระบอบประชาธิปไตย 

แต่ทว่าเป้าหมายคือการรวบอำนาจจากเสนาบดีและพระประยูรญาติให้กลับคืนสู่กษัตริย์อีกครั้ง กอปรกับร่างเค้าโครงการเปลี่ยนรูปการปกครองซึ่งชี้ว่า พระปกเกล้าฯ เตรียมพระราชทานกฎหมายเกี่ยวกับการปกครอง แต่หาใช่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตามหลักประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจไม่ 

พิจารณาจากพระราชอำนาจทั้งปวงปราศจากการรับรองสิทธิและความเสมอภาคของประชาชน ซึ่งสอดคล้องว่าเนื้อหาของร่างเค้าโครงนี้เป็น “รัฐธรรมนูญ” ที่พยายามสร้างระบบระเบียบแก่สมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น เป็นความพยายามที่จะแก้ปัญหาซึ่งสะสมมาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยตั้งแต่ต้นคือ การขยายอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสร้างบทบาทฐานะที่แน่นอนให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ในโครงสร้างของรัฐ








 
            จากเหตุผลข้างต้นทั้งหมดนี้ผู้เขียนจึงเห็นสอดคล้องว่าพระปกเกล้าฯ มิได้ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะมอบระบอบประชาธิปไตยให้ตั้งแต่ก่อนปฏิวัติ พ.ศ.2475 ร่างรัฐธรรมนูญที่ว่านี้ 

          แท้จริงแล้วเป็นเพียงเค้าโครงการจัดรูปแบบการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น มิใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด เพื่อเป็นการรวมอำนาจไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุด เสมือนปรับให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีโครงสร้างที่ทันสมัยและกำหนดอำนาจผูกขาดไว้กับสถาบันหลักให้มั่นคงมากขึ้น










 อ้างอิง

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. กรณี ร.7 ทรงสละราชสมบัติ: การตีความและการสานต่อความหมายทางการเมือง. (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2549),  น.24-25
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. การปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475 (พิมพ์ครั้งที่5). (กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2553), น.198.
ณัฐพล ใจจริง, ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ.2475-2500). (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556), น.8-10.
ประจักษ์ ก้องกีรติ, การเมืองวัฒนธรรมไทย:  ว่าด้วยความทรงจำ / วาทกรรม / อำนาจ.  (นนทบุรี:   ฟ้าเดียวกัน, 2558). น.16-17
ชำนาญ จันทร์เรือง.  (2559).  บทความ 24 มิถุนา 2475: คณะราษฎรรีบร้อนจริงหรือ.  สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน, 2559,  จาก ประชาไท:  http://prachatai.com/journal/2006/06/8754

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทวิจารณ์วรรณกรรม เรื่อง Nineteen Eighty-Four (1984) by George Orwell

บทวิจารณ์วรรณกรรม เรื่อง Nineteen Eighty-Four (1984) by George Orwell * รัฐพงศ์    หมะอุ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์             วรรณกรรมการเมืองคลาสสิกของโลก เรื่อง 198 4 ซึ่งประพันธ์โดย จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ที่สะท้อนภาพสังคมอันถูกจำกัดไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างสิ้นเชิง ผ่านสำนวนการเสียดสีและแฝงไปด้วยความขัดแย้ง ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาในสำนวนการเขียนของ สรวงอัปสร กสิกรานันท์ [1]   เป็นที่น่าสนใจว่า 1984 พยายามตั้งคำถามโดยการมองมุมกลับกับสังคมที่ดูราวกับว่า “ปกติ” ทั้งที่เป็น “ความปกติที่ไม่ปกติ” สังคมแบบย้อนแย้งระหว่างกรอบแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า คิดสองชั้น (Double think) จนกลายเป็นความสำพันธ์ที่ซับซ้อนในเชิงอำนาจ 1984 กับภาพสะท้อนโลก อาเซียน และไทย             หนังสือ 1984 ถูกตีพิมพ์ในช่วงสงครามเย็น (cold war) และแสดงให้เห็นถึงความน่ากลัวของสังคมแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดสังคมนิยมเบ็ดเสร็จหรือในทางกลับกันนั้น อำนาจเบ็ดเสร็จจำเป็นต

“สิงห์แดง” ในความทรงจำของ “มหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพ” กับความภาคภูมิใจในระบบ Seniority จากมุมมองนักศึกษา “มธ.ตะวันออก”

“สิงห์แดง” ในความทรงจำของ “มหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพ” กับความภาคภูมิใจในระบบ Seniority จากมุมมองนักศึกษา “มธ.ตะวันออก” รัฐพงศ์ หมะอุ [1]   ที่มา : http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/   บทนำ          "สิงห์แดง" เป็นคำพูดติดหูสำหรับผู้ที่มีใจฝักใฝ่ในวงการรัฐศาสตร์ ปฏิเสธไม่ได้ว่า "สิงห์แดง" ถือเป็นหนึ่งในคณะที่ยอดนิยมมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ  ของประเทศ จะด้วยเหตุผลที่เป็นคณะที่ผลิตบัณฑิตเข้าสู่วงการราชการ วิชาการ และอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าบรรดาศิษย์เก่าที่กล่าวมานั้น หลายท่านเป็นที่ยอมรับและเป็นที่นับถือ กระนั้นก็ตาม ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น บรรดาศิษย์เก่าที่ได้เข้าไปดำรงตำแหน่งอันเป็นผู้กุมชะตากรรมประเทศและมีผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนในประเทศนั้น เบื้องลึกเบื้องหลังได้รับการปลูกฝังค่านิยมอุปถัมภ์ในหมู่คณะ บทความนี้จึงชวนพินิจจุดเริ่มต้น ตลอดจนวิวัฒนาการของแนวคิด อุดมการณ์ นับแต่แรกเริ่มธรรมศาสตร์จนถึงปัจจุบัน แรกเริ่มของธรรมศาสตร์ ภายหลังการอภิวัฒน์ พ.ศ.2475 เมื่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจร

พื้นที่ประชาธิปไตย ทำยังไงให้ได้มา

พื้นที่ประชาธิปไตย ทำยังไงให้ได้มา Democratic Space and How to Find It รัฐพงศ์ หมะอุ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   * หมายเหตุ:บทความนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดบทความในหัวข้อ“พื้นทีประชาธิปไตย ( Democratic Space)" ระดับมหาวิทยาลัย โดย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความนำ เสียงโห่ร้องของมวลชนนับแสนที่ก่อการลุกฮือขึ้นใจกลางเมืองหลวงของประเทศดังกังวานก้องไปทั่วลานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ชัยชนะของเหล่านิสิตนักศึกษาที่รวมพลเรียกร้องประชาธิปไตยอันเป็นของประชาชนกลับคืนสู่ประเทศไทยได้อย่างงดงาม  กลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ถูกจารึกไว้ในตำราหนังสือให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา แต่น่าเศร้า ฉากแห่งชัยชนะของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาผ่านไปเพียงไม่นาน กลับกลายเป็นฉากโศกนาฏกรรมความรุนแรง ที่นำมาซึ่งความเจ็บปวด และความอิหลักอิเหลื่อต่อปมปัญหา เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 บรรยากาศของประชาธิปไตยเลือนหายไป สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และท้องสนามหลวงประดุจลานประหารนักโทษทางคว